ในบุหรี่ขณะยังไม่มีการจุดสูบจะไม่มีอันตราย
แต่หากมีการจุดสูบจะเกิดการเผาไหม้สลายสารเคมีต่าง ๆ
ในใบยาสูบซึ่งเป็นอันตรายในรูปของควันบุหรี่ ประกอบด้วยควัน 2 ชนิด คือ
1. ควันสายหลัก (Mainstream Smoke) คือ
ควันบุหรี่ที่ผู้สูบดูดเข้าไป และในที่สุดจะพ่นควันนี้ออกสู่บรรยากาศรอบ ๆ
ตัวผู้สูบนั้น
2. ควันหลงหรือควันสายข้างเคียง (Sidestream Smoke) คือควันบุหรี่ที่ล่องลอยมาจากปลายมวนบุหรี่
ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่ถืออยู่หรือวางอยู่บนที่เขี่ยบุหรี่ บางครั้งควันบุหรี่ชนิดนี้เรียกว่าควันมือสอง (Secondhand
Smoke) การสูบเอาควันจากสภาพแวดล้อมนี้เข้าไปเรียกว่า
การสูบบุหรี่ทางอ้อมโดยไม่ได้ตั้งใจ (Passive Smoking หรือ Involuntary Smoking) เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษซึ่งได้แก่
1. ทาร์ (Tar) ประกอบด้วยสารหลายชนิด
มีลักษณะเป็นละอองของเหลวเป็นยางสีน้ำตาลเข้ม
คล้ายน้ำมันดิบเป็นสารที่อันตรายก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่น เบนโซไพรีน(Benzopyrene) นิโคตินส่วนหนึ่ง จะอยู่ที่ปอดทำให้ขนอ่อน (Cilia) ของเซลล์ไม่สามารถเคลื่อนไหวพัดโบกได้เหมือนปกติ เมื่อรวมตัวกับฝุ่นที่เราสูดเข้าทำให้เกิดการระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง
2. นิโคติน (Nicotine) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมัน
ไม่มีสี และเป็นสารเสพติดมีผลร้ายแรง ทำให้คนติดบุหรี่
ออกฤทธิ์ได้ทั้งเป็นตัวกระตุ้น กด และกล่อมประสาทส่วนกลาง ถ้าฉีดสารนี้ 1 หยด ขนาด
70 มิลลิกรัม เข้าไปในคนปกติจะตายเพียงไม่กี่นาที และร้อยละ 95
ของนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกาย บางส่วนจะไปจับอยู่ที่ปอด
บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด
ทำให้ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดตีบ
3. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซที่เข้มข้นมีส่วนประกอบร้อยละ
1 – 5 ในควันบุหรี่
ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของใบยาได้ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ซึมเข้าไปในกระแสเลือดผสมกับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) กลายเป็นภาวะคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน(Carboxy – Hemoglobin) ซึ่งไปขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงทำให้ไม่สามารถนำก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง
ๆ ของร่างกายเป็นเหตุให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลงไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 – 15
หัวใจจึงต้องเต้นเร็วและทำงานมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้พอ
ทำให้มีอาการมึนงง เหนื่อยง่าย การตัดสินใจช้าลงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
คลื่นไส้กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง
4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) เป็นก๊าซระเหยพิษของก๊าซนี้จะทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น
ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นละออง
เชื้อโรคที่เข้าไปในหลอดลมและปอดโดย การขับเมือกเหนียว ๆ ออกมาคลุมปิดเอาไว้
และใช้ขนพัดโบกเอาเมือกที่สกปรกเหล่านั้นออก
กลายเป็นเสมหะเป็นผลให้เกิดมีอาการไอจาม มีเสมหะและหลอดลมอักเสพเรื้อรังเป็นประจำ
5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide) เป็นสารพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม
ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพองส่วนที่พองออกมาคล้ายลูกโป่งจะกดเนื้อเยื่อของส่วนที่ดีทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงเกิดอาการแน่นหน้าอก
ไอเรื้อรัง หอบเหนื่อย
6. แอมโมเนีย (Ammonia) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อทำให้แสบตา
แสบจมูก หากได้รับบ่อยจะทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการไอและเสมหะมาก
7. สารกัมมันตภาพรังสีในควันบุหรี่
เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งโดยร้อยละ 50
ของการเกิดโรคมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่ มีสาเหตุมาจากสารกัมมันตภาพรังสีนี้
และผู้ที่สูบบุหรี่จำนวน 40 มวนต่อวัน
จะพบว่ามีสารดังกล่าวในปัสสาวะมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า
ควันบุหรี่เป็นพาหะร้ายแรงในการนำสารกัมมันตภาพรังสี
ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับสารพิษนี้ด้วย
8. แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โปแตสเซียม โซเดียม แคลเซียม ทองแดง นิเกิล
และโครเมียม
อันเป็นสารตกค้างในใบยาสูบหลังจากการพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อร่างกายได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนิเกิลทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นจะกลายเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
นอกจากจะมีสารเหล่านี้เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายแล้ว
ยังมีสารเคมีอื่น ๆ อีก เช่น pyridine, nitrogenous bases, isoprenoid compounds, volatile
acids, phenolic compounds เป็นต้น
ส่วนสารที่มีอยู่ในบุหรี่ที่เชื่อกันว่า ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปอดนั้นได้แก่ Polonium-210 และ ทาร์ ซึ่งเป็นสารที่เหลือจากการเผาไหม้ของบุหรี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น